เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
» เด็กกับการดูสื่อที่รุนแรง
19 Jul 2017 15:21
เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีวันละหลายๆ ชั่วโมง ดังนั้นรายการโทรทัศน์จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อค่านิยมและความประพฤติของเด็ก น่าเสียดายที่รายการโทรทัศน์มากมายในปัจจุบันเต็มไปด้วยความรุนแรง มีการศึกษานับร้อยที่พยายามดูผลของความรุนแรงทางโทรทัศน์ต่อเด็กและวัยรุ่น ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1.ทำให้เด็ก “ชินชา” กับความรุนแรงและความน่ากลัว เห็นเป็นเรื่องธรรมดา
2.เด็กจะค่อยซึมซับความคิดที่ว่า ความรุนแรงเป็นวิธีแก้ปัญหาเข้าไป
3.เกิดการเลียนแบบความรุนแรงที่เห็นจากทีวี
4.มีการทำตัวให้เหมือนตัวละคร ซึ่งอาจเป็นทั้งผู้กระทำหรือเหยื่อ
การได้ชมความรุนแรงบ่อยๆ อาจทำให้เด็กก้าวร้าวขึ้น บางครั้งการได้ชมเพียงครั้งเดียวก็อาจเพิ่มความก้าวร้าวได้ เด็กที่ได้ชมรายการที่แสดงความรุนแรงอย่างเหมือนจริงบ่อยๆ หรือไม่เคยถูกสอนเกี่ยวกับความรุนแรง จะมีโอกาสที่จะเลียนแบบสิ่งที่เขาได้ดูมากขึ้น ผลของรายการทีวีต่อเด็กอาจแสดงทันที หรือค่อยๆ ปรากฎภายหลังหลายปีก็ได้  ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่า โทรทัศน์เป็นที่มาของความรุนแรงเพียงแหล่งเดียว แต่ก็เป็นแหล่งใหญ่ไม่น้อย
ผู้ปกครองสามารถป้องกันเด็กๆจากการได้รับอิทธิพลจากรายการทีวีเหล่านั้น ได้ดังนี้
1.สนใจรายการที่เด็กกำลังชม ร่วมชมไปกับเขาด้วยในบางโอกาส และสอนถึงสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเนื้อหา
2.จำกัดเวลาที่เด็กจะดูทีวี ในแต่ละวันให้เหมาะสม
3.ชี้ให้เด็กเห็นว่าถึงแม้ตัวแสดงจะไม่ได้รับบาดเจ็บหรือตายจริง แต่ความรุนแรงเท่ากันนั้นนอกจออาจทำให้เกิดการเจ็บปวดหรือเสียชีวิตจริงๆได้
4.ปฏิเสธหากเด็กจะดูรายการที่ขึ้นชื่อว่า “โหด” หรือ “รุนแรง” ให้เปลี่ยนช่องหรือปิดทีวีเลยเมื่อเห็นว่ามีการแสดงที่ก้าวร้าวขึ้น และอธิบายให้เด็กเข้าใจว่ารายการเหล่านี้ไม่ดีอย่างไร
5.แสดงความไม่เห็นด้วยต่อฉากหรือตอนที่มีความรุนแรงต่อหน้าเด็ก เน้นให้เด็กทราบว่าความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของปัญหา
6.เพื่อลดแรงพลักดันจากเพื่อน ควรติดต่อผู้ปกครองเด็กคนอื่นๆให้ปฏิบัติคล้ายๆกัน ทั้งในเรื่องจำกัดเวลาและชนิดของรายการที่อนุญาตให้เด็กได้ชม
ผู้ปกครองควรใช้มาตราการเหล่านี้กับรายการที่แสดงสิ่งอื่นที่ไม่เหมาะสม มีเรื่องการเหยียดหยาม หรือเรื่องเพศบ่อยๆ ระยะเวลาที่เด็กดูทีวีควรเหมาะสม เนื่องจากการดูทีวีอาจจะทำให้เด็กไม่มีโอกาสพบปะพูดคุยกับคนอื่น หรือทำกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เส่นกีฬากับกลุ่มเพื่อน หากผู้ปกครองเป็นห่วงผลของรายการโทรทัศน์ต่อบุตรหลานอย่างมาก ควรขอเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์เด็กเพื่อหาแนวทางแก้ไข
 
ที่มา: เว็บไซต์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


เนื้อหาอื่นๆ
เคล็ดลับเพิ่มสายใยระหว่างพ่อแม่ลูก
ครอบครัว คือ ที่ที่สร้างความสุขให้เรา รวมถึงเป็นที่พักพิงใจ
อ่านต่อ..
'นมแม่' รากฐานแห่งชีวิต
เพราะนมแม่ คือวัคซีนหยดแรกที่จะช่วยปกป้องลูกน้อย และเสริมภูมิคุ้มกัน
อ่านต่อ..
ป้องกันโรคติดเชื้อใน Nursery
สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเพิ่มเติมนั่นคือ การระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อโรค
อ่านต่อ..
'ขนมเด็ก' ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ขนมเด็กคืออะไร ด้วยอิทธิพลของสื่อ ขนมเด็กอาจจะเรียกเป็น ปัจจัยที่ 5 หรือ 6 ของเด็กไปแล้ว
อ่านต่อ..
อันตรายกับเด็กอ้วน
ป้องกันไม้ให้เด็กอ้วนทำอย่างไร
อ่านต่อ..